แวมไพร์ (อังกฤษ: Vampire) ผีชนิดหนึ่งตามความเชื่อของชาวยุโรป ในยุคกลาง เชื่อว่าเป็นผีดิบ ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ทั่วไป แต่มีฟันแหลมคม ดื่มเลือดของมนุษย์ด้วยกันเป็นอาหารเพื่อหล่อเลี้ยง โดยที่แวมไพร์จะมีชีวิตเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย จะปรากฏตัวได้แต่เฉพาะเวลากลางคืน เพราะกลางวันแพ้แสงแดด แวมไพร์จะหลบซ่อนอยู่ในโลงของตนหรือในหลุมในเวลากลางวัน สามารถแปลงร่างได้หลายแบบ เช่น ค้างคาว, นกฮูก, หมาป่า, กบ, คางคก, แมลงเม่า, งูพิษ เป็นต้น สามารถกำบังกายหายตัวได้ ไม่มีเงาเมื่อกระทบกับแสงหรือสะท้อนในกระจก มีแรงมากเหมือนผู้ชาย 20 คน สิ่งที่จะกำราบแวมไพร์ได้คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่นไม้กางเขน, น้ำมนตร์ หรือแม้กระทั่งสมุนไพรกลิ่นแรงบางชนิด เช่น กระเทียม วิธีฆ่าแวมไพร์มีมากมาย เช่น ตอกลิ่มให้ทะลุหัวใจ เผา หรือ ตัดหัวด้วยจอบของสัปเหร่อ บุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของมัน จะกลายเป็นแวมไพร์ไปด้วย และกลายเป็นสาวกของแวมไพร์ตนที่ดูดเลือดตัวเอง
ชาวยุโรปในยุคกลางนั้น หวาดกลัวแวมไพร์มาก ผู้ที่สงสัยว่าเป็นแวมไพร์ จะตกอยู่ในสถานะเดียวกับแม่มด หรือ มนุษย์หมาป่า คือ ถูกตัดสินลงโทษด้วยการเอาถึงชีวิต มีวิธีการป้องกันการรุกรานของแวมไพร์หลายวิธี เช่น บางหมู่บ้านจะโปรยเมล็ดข้าวไว้บนหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าแวมไพร์จะง่วนกับการนับเมล็ดข้าวเป็นการถ่วงเวลาจนรุ่งเช้า หรือ โรยเศษขนมปังไว้ตั้งแต่สุสานให้แวมไพร์เดินเก็บเศษขนมนั้นวนเวียนไปมา หรือแม้แต่การวางไม้กางเขนหรือดอกกุหลาบที่มีหนามแหลมเพื่อเป็นการพันธนาการไว้ในโลง
เรื่องราวของผีแวมไพร์ มีมากมาย ที่เป็นนิทานพื้นบ้านและวรรณกรรม โดยวรรณกรรมที่ว่าถึงแวมไพร์ที่เก่าแก่ที่สุด มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของแวมไพร์คือ เรื่องแดรกคูลา ของ บราม สโตกเกอร์ ที่โด่งดังจนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ละคร ละครเวที หรือแม้แต่กระทั่งภาพยนตร์การ์ตูนมากมายตราบจนปัจจุบัน เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Nosferatu : A Symphony of Horror ในปี ค.ศ. 1922 เป็นต้น
เป็นไปได้ว่าความเชื่อเรื่องของแวมไพร์ที่สามารถแปลงร่างเป็นค้างคาวได้ อาจมีที่มาจากที่ภูมิภาคอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ มีค้างคาวขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Desmodontinae มีพฤติกรรมดูดเลือดสัตว์ที่ใหญ่กว่าเป็นอาหารในเวลากลางคืน ซึ่งค้าวคาวในวงศ์นี้ก็ได้มีการเรียกชื่อสามัญว่า แวมไพร์ เช่นกัน
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้]ที่มาของคำ
พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ระบุการปรากฏครั้งแรกของคำว่า แวมไพร์ ในภาษาอังกฤษ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1734 ในสารคดีท่องเที่ยวที่ชื่อTravels of Three English Gentlemen ตีพิมพ์ในหนังสือ Harleian Miscellany ในปี 1745[1][2] ในวรรณกรรมเยอรมันได้มีการถกกันเรื่องแวมไพร์มาแล้ว[3] หลังจากที่ออสเตรียเพิ่มการควบคุมเซอร์เบียเหนือและ Oltenia ในปี ค.ศ. 1718 เจ้าหน้าที่บันทึกเกี่ยวกับร่างที่ขุดมาจากหลุมศพ และ "แวมไพร์ที่ตายแล้ว"[3] รายงานนี้เขียนขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1725 ถึง ค.ศ. 1732 และได้รับรู้สู่สาธารณะ[3]
ในภาษาอังกฤษคำนี้มาจาก เป็นไปได้ว่าเพี้ยนจากภาษาฝรั่งเศส vampyre ซึ่งมาจากภาษาเยอรมันว่า Vampir ซึ่งอาจมาจากภาษาเซอร์เบียในต้นคริสตวรรษที่ 18 คำว่า вампир/vampir.[4][5][6][7][8] ตามรูปแบบภาษาเซอร์เบียซึ่งคล้ายกับภาษากลุ่มสลาวิก มีการใช้คือ: ภาษาบัลแกเรีย вампир (vampir), ภาษาเช็กและสโลวัก upír, ภาษาโปแลนด์ wąpierz และ (บางทีอาจะรับอิทธิพลจากสลาวิกตะวันออก) upiór, ภาษารัสเซีย упырь (upyr'), ภาษาเบลารุส упыр (upyr),ภาษายูเครน упирь (upir'), ซึ่งมาจากภาษารัสเซียโบราณ упирь (upir') (หมายเหตุ ภาษาเหล่านี้มักยืมรูปแบบของ "vampir/wampir" จากทางตะวันตกที่เป็นคำดั้งเดิมท้องถิ่น) แต่ที่มาของคำนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่ามาจากภาษาอะไร[9]
ในบรรดา รูปแบบสลาวิกดั้งเดิม *ǫpyrь และ *ǫpirь[10] มีความเป็นไปได้ว่ามีรากศัพท์ความหมายของคำว่า "ค้างคาว" (เช็ค netopýr, สโลวัก netopier, โปแลนด์ nietoperz, รัสเซีย нетопырь / netopyr' - ชนิดของค้างคาว), คำในภาษาสโลวักอาจมีรากจากภาษาอินโดยูโรเปียนดั้งเดิม จากคำว่า "บิน"[10] ทฤษฎีที่เก่ากว่านี้ที่ว่าว่า ภาษาสลาวิกขอยืมคำจากภาษาเตอร์กิก คำว่า "แม่มด" (เช่นคำว่า Tatar ubyr)[10][11]
[แก้]ความเชื่อท้องถิ่น
ความเชื่อเกี่ยวกับลัทธิแวมไพร์มีมานานกว่าพันปี ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมอย่าง เมโสโปเตเมีย, ฮิบรู, กรีกโบราณ และโรมัน มีเรื่องเล่าของปีศาจและวิญญาณที่ตีความว่าเป็นที่มาของแวมไพร์สมัยใหม่ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ดูเหมือนสิ่งมีชีวิตคล้ายแวมไพร์ ในสมัยโบราณ ความเชื่อในรูปธรรมที่เรารู้ในปัจจุบันของต้นกำเนิดแวมไพร์ มักมาจากต้นศตวรรษที่ 18 ทางแถบตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป[12] เมื่อประเพณีการเล่าขานของคนหลายเผ่าพันธุ์ต่างบันทึกและตีพิมพ์ ในกรณีส่วนมาก แวมไพร์คือผีในรูปแบบปีศาจ, เหยื่อฆ่าตัวตาย, หรือผู้ใช้เวทมนตร์คาถา หรือถูกสร้างมาด้วยอำนาจวิญญาณความชั่วร้ายที่ครอบงำศพ หรือถูกกัดโดยแวมไพร์ ความเชื่อต่าง ๆ ในตำนานกระจายไปทั่วท้องที่ที่ก่อให้เกิดความผวาหวาดกลัวและมีการบังคับตามกฎหมายของคนที่เชื่อว่าเป็นแวมไพร์[13][14]
[แก้]คุณลักษณะ
เป็นการยากที่จะอธิบายถึงความหมายเพียงความหมายเดียวของความเชื่อเรื่องแวมไพร์ ถึงแม้ว่ามีหลายองค์ประกอบที่เหมือนกันในบางตำนานในยุโรป แวมไพร์มักมีการรายงานว่ามีลักษณะพอง มีเนื้อหนังเป็นสีม่วงหรือเข้ม จากลักษณะนี้ทำให้มีมีคุณสมบัติที่จะดื่มเลือด ซึ่งเลือดมักจะซึมออกจากปากหรือจมูกเมื่อพบในผ้าห่อศพหรือโลงศพ และมักมีตาซ้ายเปิด[15] มักแต่งตัวในผ้าห่อศพจากผ้าลินิน และมีฟัน ผมและเล็บงอกออกมาเหมือนเขี้ยวสัตว์[16]
คุณลักษณะอื่นมาจากวัฒนธรรมสู่วัฒนธรรม แวมไพร์บางพวก อย่างเช่นในเรื่องเล่าแถบทรานซิลเวเนีย แวมไพร์จะผอมแห้ง ซีด และมีเล็บนิ้วยาว ขณะที่ในบัลแกเรียมีโพรงจมูกรูเดียว[17] และในแวมไพร์ในบาวาเรีย หลับโดยขัดนิ้วโป้งและมีตาเปิดหนึ่งข้าง[18] แวมไพร์ในโมราเวีย จะทำร้ายต่อเมื่อเปลือยเท่านั้น และในเรื่องเล่าชาวอัลบาเนียจะสวมรองเท้าส้นสูง[18] เรื่องเล่าต่าง ๆ ของแวมไพร์ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกส่วนของโลก ทั้งในอเมริกาและทุกที่ และในบางครั้งก็มีการอธิบายแวมไพร์ที่แปลกพิสดาร อย่างแวมไพร์เม็กซิกัน จะมีกะโหลกเปล่าแทนหัว[18] ในบราซิล แวมไพร์ มีเท้าที่มีขนยาวมาจากเทือกเขาร็อกกี้ จะดูดเลือดจากทางจมูกโดยดูดจากทางหูของเหยื่อ[18] ลักษณะทั่วไป ในบางครั้งจะอธิบายเช่น มีผมสีแดง[18] ในบางรายงาน สามารถแปลงร่างเป็น ค้างคาว หนู สุนัข สุนัขจิ้งจอกแมงมุม หรือแม้กระทั่งผีเสื้อกลางคืน[19] ในตำนานที่หลากหลาย อย่างเช่นผลงานวรรณกรรมอย่างเช่น แดรกคูลา และผู้กระหายเลือดทางประวัติศาสตร์อย่างเช่น Gilles de Rais, อลิซาเบธ บาโธรี่, และ วลาด เทเปซ แวมไพร์ก็พัฒนาออกมาในรูปแบบแบบแผนสมัยใหม่[13][18]
[แก้]การเกิดแวมไพร์
สาเหตุของการสืบสายสายพันธุ์แวมไพร์ มีหลากหลายรูปแบบตามความเชื่อท้องถิ่น ในสลาวิกและความเชื่อจีน หากศพที่มีสัตว์กระโดดข้ามโดยเฉพาะหมาหรือแมว จะเกรงว่าจะทำให้ศพไม่ตาย[20] ร่างที่มีบาดแผลที่ไม่ได้รับการรักษาโดยน้ำเดือดก็เสี่ยง ในความเชื่อรัสเซีย แวมไพร์มักถูกเคยเชื่อว่าเป็นพ่อมดหรือคนที่ขบถต่อโบสถ์ในขณะที่พวกเขามีชีวิตอยู่[18]
การปฏิบัติทางสังคมมักเกิดขึ้นจากความพยายามป้องกันการกลับมาของคนตาย การฝังศพคว่ำลงก็แพร่ขยายไปทั่วและฝังไปกับสิ่งของของมนุษย์ อย่างเช่น เคียวด้ามยาวหรือเคียวเกี่ยวข้าว[21] ไว้ใกล้กับหลุมศพ เพื่อเอาใจเหล่าปีศาจที่จะเข้ามาในร่างหรือเพื่อระงับความตายที่จะไม่ทำให้พวกเขาลุกขึ้นจากหลุมศพ วิธีนี้ดูคล้ายกับวิธีปฏิบัติของชาวกรีกโบราณ ที่จะใส่โอโวลอส (เหรียญเงินเล็ก ๆ) ในปากศพ เป็นค่าธรรมเนียมในการข้ามแม่น้ำสติกซ์ในโลกหน้า แต่ก็ยังเป็นข้อถกเถียง ไฟจะช่วยขจัดวิญญาณร้ายเข้าสู่ร่างกายและนี่อาจเป็นอิทธิพลให้กับความเชื่อพื้นบ้านเกี่ยวกับแวมไพร์ ธรรมเนียมนี้ยังคงมีอยู่ในประเพณีของกรีกสมัยใหม่เกี่ยวกับvrykolakas ที่จะมีกางเขนทำจากขี้ผึ้งและชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่จารึกไว้ว่า "Jesus Christ conquers" วางบนศพเพื่อป้องกันการกลายเป็นแวมไพร์[22]
วิธีปฏิบัติอื่นในยุโรป เช่น การแยกเส้นเอ็นที่หัวเข่า หรือ ใช้ท่อนไม้หรืออิฐยัดเข้าไปในปาก[23] หรือการวางเมล็ดต้นป็อปปี้, ข้าวฟ่าง หรือทรายบนพื้นดินของหลุมศพที่เชื่อว่าเป็นแวมไพร์ เพื่อเป็นการป้องกันแวมไพร์ในช่วงกลางคืน โดยการนับเมล็ดข้าวที่ร่วงโรย[24] คล้ายกับเรื่องเล่าของชาวจีนที่ว่า ถ้าแวมไพร์ของจีนกระโดดข้ามกระสอบข้าว จะต้องนับข้าวทุกเมล็ด เช่นเรื่องราวในนิทานของอินเดียและอเมริกาใต้ ที่เป็นเรื่องเล่าของพ่อมดและปีศาจหรือวิญญาณชั่วร้าย[25]
[แก้]การจำแนกแวมไพร์
มีพิธีกรรมมากมายที่จะสามารถระบุถึงแวมไพร์ได้ หนึ่งในวิธีนั้นคือการหาหลุมศพของแวมไพร์ โดยนำม้าผู้บริสุทธิ์เดินผ่านสุสานหรือพื้นโบสถ์กับพ่อม้าบริสุทธิ์ - ม้ามักจะหยุดกะทันหันในที่ที่สงสัย[18] โดยทั่วไปจะใช้ม้าดำ แต่ในอัลบาเนียจะใช้ม้าขาว[26] หลุมที่ปรากฏบนพื้นมักจะมีลางว่าเกี่ยวข้องกับแวมไพร์[27]
ศพที่จะเป็นแวมไพร์มักจะอธิบายว่าจะดูมีสุขภาพกว่าที่จะเป็น จะดูอ้วนและดูไม่มีสิ่งที่บ่งว่าจะเน่าเปื่อย[28] ในบางกรณี เมื่อหลุมศพที่น่าสงสัยถูกเปิดออก ชาวบ้านก็เล่าว่า ศพดูมีเลือดไหลเวียนที่มาจากเหยื่อไปทั่วหน้า[29] หลักฐานที่พบว่ามีแวมไพร์อยู่อย่างเช่น การตายของวัวควาย, แกะ หรือเพื่อนบ้านเอง เรื่องเล่าเกี่ยวกับแวมไพร์ทำให้รู้สึกได้ว่ามีส่วนร่วมผีที่ส่งเสียงหลอกหลอนคน อย่างเช่น หินที่ขว้างปามาโดนหลังคาหรือการเคลื่อนไหวของของในบ้าน[30] หรือความรู้สึกอึดอัดของคนเมื่อนอนหลับ[31]
[แก้]อ้างอิง
- ^ "Vampire". Oxford English Dictionary (2nd edition). (1989). Ed. J. Simpson, E. Weiner (eds). Oxford: Clarendon Press. ISBN 0-19-861186-2.
- ^ Johnson, Samuel (1745). "IV". Harleian Miscellany. London: T. Osborne. pp. 358.
- ^ 3.0 3.1 3.2 Barber, Vampires, Burial and Death, p. 5.
- ^ "Deutsches Wörterbuch von Jacob Grimm und Wilhelm Grimm. 16 Bde. (in 32 Teilbänden). Leipzig: S. Hirzel 1854-1960".http://germazope.uni-trier.de/Projects/WBB/woerterbuecher/dwb/wbgui?lemid=GV00025. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-06-13. (เยอรมัน)
- ^ "Vampire". Merriam-Webster Online Dictionary. http://www.merriamwebster.com/dictionary/vampire. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-06-13.
- ^ "Trésor de la Langue Française informatisé". http://atilf.atilf.fr/dendien/scripts/fast.exe?mot=vampire. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-06-13. (ฝรั่งเศส)
- ^ Dauzat, Albert (1938). Dictionnaire étymologique de la langue française. Paris: Librairie Larousse. OCLC 904687. (ฝรั่งเศส)
- ^ Weibel, Peter. "Phantom Painting - Reading Reed: Painting between Autopsy and Autoscopy". David Reed's Vampire Study Center.http://thegalleriesatmoore.org/publications/vampirestudy/weiben12.shtml. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-02-23.
- ^ Tokarev, Sergei Aleksandrovich (1982). Mify Narodov Mira. Sovetskaya Entsiklopediya: Moscow. OCLC 7576647. ("Myths of the Peoples of the World"). Upyr' (รัสเซีย)
- ^ 10.0 10.1 10.2 "Russian Etymological Dictionary by Max Vasmer". http://vasmer.narod.ru/p752.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-06-13. (รัสเซีย)
- ^ Mladenov, Stefan (1941). Etimologičeski i pravopisen rečnik na bǎlgarskiya knižoven ezik. (บัลแกเรีย)
- ^ Silver & Ursini, pp. 22-23.
- ^ 13.0 13.1 Cohen, Encyclopedia of Monsters, pp. 271–274.
- ^ William of Newburgh; Paul Halsall (2000). "Book 5, Chapter 22–24". Historia rerum Anglicarum. Fordham University.http://www.fordham.edu/halsall/basis/williamofnewburgh-five.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-10-16.
- ^ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 41-42.
- ^ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 2.
- ^ Bunson, Vampires Encyclopedia, p. 35.
- ^ 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 18.6 18.7 Reader's Digest Association (1988). "Vampires Galore!". The Reader's Digest Book of strange stories, amazing facts: stories that are bizarre, unusual, odd, astonishing, incredible ... but true. London: Reader's Digest. pp. 432–433. ISBN 0-949819-89-1.
- ^ Silver & Ursini, The Vampire Film, pp. 38-39.
- ^ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 33.
- ^ Barber, Vampires, Burial and Death, pp. 50-51.
- ^ Lawson, John Cuthbert (1910). Modern Greek Folklore and Ancient Greek Religion. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 405–06.OCLC 1465746.
- ^ รายการสำรวจโลก ทางทีวีไทย ตอน แวมไพร์แห่งเวนิส : 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553
- ^ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 49.
- ^ Jaramillo Londoño, Agustín (1986) [1967]. Testamento del paisa (7th ed.). Medellín: Susaeta Ediciones. ISBN 958-95125-0-X. (สเปน)
- ^ Barber, Vampires, Burial and Death, pp. 68-69.
- ^ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 125.
- ^ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 109.
- ^ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 114-15.
- ^ Barber, Vampires, Burial and Death, p. 96.
- ^ Bunson, Vampire Encyclopedia, pp. 168-69.
]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น